กล่องข้อความ: 		7-50100-001-177  		  ชื่อพื้นเมือง	:  มะยม  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Phyllanthus acidus (L. )Skeels.  ชื่อวงศ์	:  APOCYNACEAE  ชื่อสามัญ	:  Stax  Gooseberry  ประโยชน์	:  สรรพคุณทางด้านสมุนไพร ใบ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัด เปลือกต้น ต้มดื่มแก้ไข้ ต้มอาบแก้เม็ดผดผื่นคัน ราก น้ำต้มรากเป็นยาฝาดสมานทาแก้คัน สูดไอร้อนแก้ไอ แก้หืดหอบ และแก้ปวดศีรษะ ผล ผลกินได้
บริเวณที่พบ : ทิศตะวันตก อาคาร4
ลักษณะพิเศษของพืช : สมุนไพร ผลรับประทานได้
ลักษณะทั่วไป : ไม้ต้นใบเดี่ยวเรียงสลับบนกิ่ง เล็กดูคล้ายใบประกอบ ผลมักห้อยเป็นพวงตามกิ่งและลำต้น รสเปรี้ยว
ต้น : ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3–10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล
ใบ : เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบ สลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20–30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลม
หรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ
ดอก : ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ
ผล : เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด
ประโยชน์
    รากรสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ
    เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
    ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมีย
และใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
    ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
    ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง

ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ลำต้น
ใบ
ผล

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้    มะยม    รหัสพรรณไม้   7-50100-001-177